วันที่ลงทะเบียน:2003.09.19
ความคิดเห็น
ทางเข้า Otori Sake Brewery "" คือบ้าน Nishio ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อกว่า 220 ปีที่แล้วและอยู่ติดกับโกดังสำนักงานใหญ่ และยินดีต้อนรับคุณในบรรยากาศเดียวกับอาคารสมัยเอโดะ สถานที่ท่องเที่ยวคือโรงหมักสาเกที่ได้รับการบำรุงรักษาและปรับปรุงใหม่ตั้งแต่ (ปี 9 ของคันเซ: 1797) จัดแสดงเครื่องมือเก่าที่ใช้ในการผลิตสาเกจริงและแนะนำกระบวนการผลิตสาเกบนแผง
open
ความเห็น
"โรงล้างทำความสะอาดข้าวและโรงหม้อไอน้ำผลิตเหล้าโฮเมชูโซว" เป็นอาคารสำหรับใช้ล้างทำความสะอาดข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล้า ก่อสร้างและเริ่มใช้งานราวปีค.ศ. 1830 ก่อสร้างอาคารชิดไปทางทิศตะวันออกของเขตพื้นที่ และฝั่งทางทิศใต้ของยุ้งฉาง สำหรับส่วนของหลังคานั้นสร้างด้วยการมุงหลังคาโดยใช้กระเบื้องซึ่งทำเป็นรูปทรงคลื่นเป็นหลังคาแบบหน้าจั่ว(รูปทรงของภูเขาเหมือนกับคว่ำหนังสือลง) และชั้นที่ 1 ของอาคารยุ้งฉางโครงสร้างสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุริ (โครงสร้างอาคารทนไฟซึ่งใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และโบกทำด้วยดินโคลนอย่างหนาบนนั้นอีกที) ขนาดของพื้นที่การก่อสร้างอยู่ที่ 96 ㎡ และ สร้างห้องขนาดเล็กซึ่งขยายไปทางมุมฝั่งทิศตะวันตกเฉียงใต้ และใช้เป็นห้องสำหรับตรวจเช็ควัตถุดิบ ส่วนภายในไม่มีการสร้างพื้นแผ่นไม้ในฐานะเป็นพื้นที่ใช้สอยแต่ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานเพื่อการผลิตเหล้าเป็นพื้นที่ว่างดึงลากเช่นฟางเข้า เป็นต้น
ในกระบวนการผลิตเหล้าของญี่ปุ่นนั้น พื้นที่นี้จะเป็นกระบวนการแรกสุดในการปฏิบัติงานล้างทำความสะอาดและนึ่งข้าวที่เป็นวัตถุดิบหลัก ในการปฏิบัติงานส่วนนี้ ช่วยทำให้สามารถผลิตเหล้าญี่ปุ่นที่มีรสชาติอร่อยได้"โรงล้างทำความสะอาดข้าวและโรงหม้อไอน้ำผลิตเหล้าโฮเมชูโซว"ถือเป็นสถานที่ปฏิบัติงานในการผลิตเหล้าญี่ปุ่นและเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างตัวอย่าง
“โรงบ่มเหล้าผลิตเหล้าโฮเม” ก่อสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1830 เป็นอาคารขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นในฝั่งทางใต้ของโรงล้างข้าวและโรงหม้อต้มไอน้ำ และติดตั้งถังเก็บ และถังกลั่นเหล้า เป็นต้น และชั้นที่2ของอาคารยุ้งฉางโครงสร้างสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุริ (โครงสร้างอาคารทนไฟซึ่งใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และโบกทำด้วยดินโคลนอย่างหนาบนนั้นอีกที) ขนาดพื้นที่ก่อสร้างมีพื้นที่ 246 ㎡ และผนังประกอบเป็นโครงสร้างขึ้นด้วยไม้กระดานแนวตั้งส่วนด้านล่าง และเคลือบปูน ส่วนภายในนั้นหลังคาตึกตะวันออก จะเป็นอาคารที่ขนาดใหญ่เกือบ 20 m เพื่อใช้วางเรียงถังไม้ขนาดใหญ่
ในกระบวนการผลิตเหล้าญี่ปุ่น กระบวนการบ่มเหล้า การหมักโดยการเติมน้ำและมอลต์เพิ่มเข้าไปในข้าวนึ่งซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก การบ่มจะแบ่งเป็น 3 ครั้ง(การหมัก 3 ขั้น) แต่ว่า การบ่มหมักแอลกอฮอลล์และการย่อยแป้งจะทำในเวลาเดียวกัน เทคนิคกระบวนการหมักที่มีหลายปฏิกิริยานี้ เป็นวิธีการบ่มหมักระดับสูงซึ่งมีไม่มากในโลก ทำให้ได้เหล้าที่บ่มหมัก แอลกอฮออล์สูงด้วยเทคนิควิธีนี่
“โรงบ่มเหล้าผลิตเหล้าโฮเม” เป็นอาคารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการผลิตเหล้าโฮเมชูโซว” และเป็นปัจจัยหลักในการสร้างภาพบรรยากาศของร้านขายเหล้าผลิตเอง
"สำนักงานโรงผลิตเหล้าโฮวเมชูโซ" สร้างขึ้นฝั่งทางเหนือของเขตพื้นที่และถูกสร้างขึ้นในฝั่งตะวันตกของอาคารหลักซึ่งเป็นตึกที่กลายเป็นศูนย์กลาง ลักษณะเป็นอาคารแบบชั้นเดียวสร้างจากไม้ ขนาดพื้นที่ก่อสร้างเป็นอาคารขนาดเล็ก 6.3 ตารางเมตร และภายในมีหนึ่งห้อง ส่วนหลังคาจะสูงที่สุดในฝั่งถนน(ฝั่งทิศเหนือและตึกหันหน้าไปทางทิศใต้ สร้างขึ้นให้ไหลลงต่ำ ผนังฝั่งด้านถนนจะเคลือบส่วนบนด้วยผนังคอนกรีตซึ่งคุณสมบัติทนความไฟโดยใช้หินภูเขาไฟเป็นวัตถุดิบหลัก และทำคิ้วบัวอย่างหน้าต่างไม้ระแนงแนวตั้ง ณ เวลานั้นอาคารประกอบโครงสร้างขึ้นด้วยหลังคาและผนังนี้เท่านั้น ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานของร้านและสร้างขยายต่อเติมห้องใต้หลังคา "สำนักงานโรงผลิตเหล้าโฮเม" หันหน้าไปทางทิศเหนือและทำหน้าที่ในการสร้างองค์ประกอบทิวทัศน์ฝั่งทางเหนือของร้านเหล้าที่ผลิตในเวลานั้น
"สำนักงานที่สองโรงผลิตเหล้าโฮเม" สร้างทางตะวันตกเฉียงใต้ของโรงบ่มหมักเหล้าและส่วนที่สูงที่สุดของหลังคายืดขยายไปทางเหนือใต้ และเป็นอาคารชั้นเดียวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพื้นที่อาคารสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกขนาด 43 ㎡ และภายในมีหนึ่งห้องและหลังจากส่วนบนมีสองทิศทางและส่วนล่างจะเป็นรูปทรงลาดชาดไปในแนวสี่ทิศทาง กล่าวว่าเป็นการสร้างหลังคาหน้าจั่วสไตล์ "อิริโมยะ-ซึคุริ" และเป็นหนึ่งในรูปทรงหลังคาแบบดั้งเดิมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
"สำนักงานที่สองโรงผลิตเหล้าโฮเม" ตั้งอยู่ใกล้กับทางเข้าจากถนนทางใต้ของพื้นที่ซึ่งทำหน้าที่สำคัญเป็นสำนักงานใหญ่และช่วยสร้างองค์ประกอบบรรยากาศทิวทัศน์ทางใต้ของโรงเหล้า
"อาคารหลักโรงผลิตเหล้าโฮเม" เป็นอาคารที่เป็นศูนย์กลางของโรงผลิตเหล้าที่ตั้งอยู่ในเมืองโกะฟุคุ และอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทซาซายามะ สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1797 ลักษณะเป็นอาคารสองชั้นสร้างด้วยไม้ ขนาดพื้นที่มีความกว้างอยู่ที่ 210 ตารางเมตร และมีโครงสร้างยกพื้นสูงทางตะวันออกและตัดทางเดินทะลุจากทางเข้าจนถึงด้านหลัง “อาคารหลักโรงผลิตเหล้าโฮเม”นั้นเป็นทั้งบ้านพักอาศัยของตระกูลนิชิโอะซึ่งเป็นหัวหน้าและร้าน และปัจจุบันก็มีบทบาทหน้าที่เป็นภาพลักษณ์ของ”โรงผลิตเหล้าโฮวเมชูโซ” จุดเด่นอยู่ที่หลังคามุงอิฐซึ่งเป็นรูปทรงบิดเบี้ยวหลวมๆหันไปทางถนนและทำหน้าที่บอกเล่าบรรยากาศ ณ เวลานั้นของเมืองซาซะยามะโจวคะมาชิให้กับวันนี้
"โรงผลิตเหล้าโฮเมที่หนึ่ง" สร้างขึ้นมุมตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่และสร้างเชื่อมต่อกับสำนักงานที่หนึ่งกับอาคารหลักเป็นสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุริ(โครงสร้างอาคารกันไฟซึ่งเคลือบดินหนาไว้ด้านบนและใช้ไม้เป็นวัสดุแกนหลัก ส่วนชั้นที่หนึ่ง และหลังคาสร้างขึ้นโดยใช้หลังคากระเบื้องซึ่งใช้กระเบื้องทรงคลื่นและหลังคาทรงจั่วหักมุม(รูปทรงภูเขาคล้ายคว่ำหนังสือ) ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้างมีความกว้างอยู่ที่ 20 ตารางเมตรผนังฝั่งถนนทาเคลือบปูนซีเมนต์ซี่งมีความเป็นเลิศในการกันไฟและใช้หินภูเขาไฟเป็นวัดถุดิบ และยืดแผ่นปูขยายจนถึงตำแหน่งความสูงระดับเอว ติดตั้งทางเข้าประตูทางตะวันออกและติดหน้าต่างทางใต้ ถือเป็นหนึ่งในอาคารที่ช่วยสร้างองค์ประกอบบรรยากาศบ้านเมือง และบอกเล่าเรื่องให้กับปัจจุบัน"โรงผลิตเหล้าโฮเมที่หนึ่ง”เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ดังนั้นไม่สามารถเข้าได้
"โรงผลิตเหล้าโฮเมที่สอง" ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของอาคารหลักและอยู่ฝั่งทางตะวันออกของพื้นที่ ส่วนหลังใช้หลังคามุงกระเบื้องใช้กระเบื้องรูปทรงคลื่นเป็นหลังคาทรงจั่วหักมุม(รูปทรงภูเขาคล้ายคว่ำหนังสือ)และกลายเป็นโครงสร้างอากาศถ่ายเทสะดวกดี อาคารเป็นอาคารสองชั้นเป็นสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุริ(โครงสร้างอาคารกันไฟซึ่งเคลือบดินหนาไว้ด้านบนและใช้ไม้เป็นวัสดุแกนหลัก ส่วนด้านล่างผนังทำเป็นผนังนามะโคะซึ่งสร้างความประทับใจในรอยต่อรูปทรงนามะโคะและติดประตูแบบเปิดสองบานจากตะวันตกทางเหนือและติดตั้งหน้าต่างเล็กส่วนบน ขนาดพื้นที่ก่อสร้าง 23 ตารางเมตร อาคารแห่งนี้บอกเล่าจุดเด่นได้เป็นอย่างดีในฐานะที่เป็นอาคารสร้างแบบสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุซึ่งเป็นสไตล์สถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น “โรงผลิตเหล้าโฮเมที่สอง”เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ดังนั้นไม่สามารถเข้าได้
"อาคารแยกจากโรงผลิตเหล้าโฮเม" สร้างขึ้นฝั่งตะวันตกของพื้นที่และเชื่อมต่อกับอาคารหลักฝั่งตะวันออกของตึก
ห่างออกไปจะเป็นตึกที่สร้างขึ้นทีหลังเมื่อเทียบกันแล้วสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1868 ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว สร้างด้วยไม้ และขนาดพื้นที่ก่อสร้างมีความกว้าง 86 ตารางเมตร ส่วนภายในมีห้องแบบตะวันตก 1 ห้อง และห้องแบบญี่ปุ่น 3 ห้องสร้างประตูหน้าชิดทางตะวันออกของฝั่งทางเหนือ ส่วนฝั่งทางใต้ติดเฉลียง(ระเบียง)และกลายเป็นการจัดวางตำแหน่งโดยมีห้องน้ำอยู่ในตำแหน่งที่ยื่นออกไปทางส่วนปลายนั้น สำหรับห้องแบบญี่ปุ่นมีขนาดถึง 16.2 ตารางเมตร สูงขึ้นมาอีกระดับ และทำการดัดแปลงเช่น ทำสถานที่สำหรับประดับวางภาพวาดหรือสิ่งของ เป็นต้น ถือเป็นหนึ่งในตึกทรงคุณค่าที่ช่วยบอกเล่ารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นให้กับยุคสมัยปัจจุบัน"อาคารแยกจากโรงผลิตเหล้าโฮเม"เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ดังนั้นไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ได้
"ห้องข้าวมอลต์และพื้นที่สำหรับถังโรงผลิตเหล้าโฮเม" สร้างขึ้นเชื่อมต่อฝั่งทางใต้ของโรงบ่มหมัก อาคารชั้นเดียวเป็นสถาปัตยกรรมทรงโดโซสึคุริ(โครงสร้างอาคารกันไฟซึ่งเคลือบดินหนาไว้ด้านบนและใช้ไม้เป็นวัสดุแกนหลัก) พื้นที่การก่อสร้างความกว้าง 127 ตารางเมตร ทางฝั่งใต้มีห้องข้าวมอลต์ ทำผนังสองชั้น ห้องข้าวมอลต์เป็นสถานที่ผลิต "มอลต์" ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการผลิตเหล้าสาเกญี่ปุ่น และข้าวมอลต์ช่วยเปลี่ยนข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบเป็นน้ำตาลและนำพาเข้าสู่การบ่มหมักแอลกอฮอลล์ ข้าวมอลต์เป็นสิ่งมีชีวิตและความสำคัญอยู่ที่การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น โรงเก็บถังเป็นสถานที่บ่มเหล้าและมีพื้นที่ว่างใหญ่หนึ่งห้องและภายในเป็นโครงสร้างที่ไม่มีเสา และถือเป็นการก่อสร้างขนาดใหญ่ซึ่งขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล้าสาเกญี่ปุ่น และช่วยบอกเล่าอดีตของทัมบะซาซะยามะให้กับวันนี้
ข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
【เวลา】
Houmei Sake Brewery Co., Ltd. 9: 30-17: 00
【วันหยุดประจำ】
วันอังคาร
【ราคา】
ฟรี
【ลิงค์ภายนอก】
กลับไปที่รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของ เมืองทัมบะ ซาซายามะ จังหวัดเฮียวโงะ